wellworldd

 

 

 

 

 

Enzyme Therapy

 

                                                                เอนไซม์บำบัด

 

เอนไซม์ (enzyme) ก็คือโปรตีนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ทั้งในพืชและสัตว์ มันมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของกระบวนการเคมีในร่างกายให้ทำงานรวดเร็วขึ้น เอนไซม์แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ:

1. เอนไซม์ที่ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน (metabolic enzyme) เอนไซม์ชนิดนี้อยู่ในเลือด เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ เช่นในวงจรเคมีที่เรียกว่า วงจรเครป (Kreb's cycle) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานในเซลล์ของคนเรา ปฏิกิริยาเครปก็ต้องอาศัยเอนไซม์หลายตัว กระตุ้นให้วงจรเคมีดำเนินไปได้ และเกิดเป็นพลังงานให้เซลล์ของเรา ในเซลล์ร่างกายของเรายังมีเอนไซม์อีกบางจำพวก เอาไว้สลายสารเสียที่เซลล์ไม่ต้องการ เช่น เอนไซม์ SOD ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

2. เอนไซม์ในอาหาร (food enzyme) เอนไซม์ชนิดนี้มีอยู่ในอาหารสด ในเซลล์สัตว์และเซลล์พืช เอนไซม์เหล่านี้บรรจุอยู่ในถุงเรียกว่าไลโซโซม (lysosome) เมื่อถุงของมันแตกออกก็จะย่อยสลายสารอาหารให้กลายเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เพื่อจะได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ง่ายขึ้น

3. เอนไซม์ย่อยอาหาร (digestive enzyme) เอนไซม์ชนิดนี้อยู่ในระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ มันหลั่งออกมาจากเยื่อเมือกบุกระเพาะลำไส้ จากตับและตับอ่อน ทำหน้าที่ย่อยอาหารจากโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ทำให้ถูกดูดซึมได้ 


ขาดเอนไซม์ทำให้ร่างกายเกิดโรค


ตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมานักวิจัยด้านชีวเคมีได้สรุปว่า มีเอนไซม์มากกว่า 1,300 ชนิดที่เกี่ยวข้องในร่างกายของเรา และการพร่องเอนไซม์ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้คือ



1. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร การย่อยอาหารในระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ในปาก กระเพาะ และลำไส้เล็กล้วนแล้วแต่อาศัยเอนไซม์ช่วยย่อยทั้งสิ้น หากพร่องเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร เราจะมีอาการท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่นน้อง ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย ทุกวันนี้เรามีเอนไซม์ช่วยย่อยใช้ในการบำบัดอาการที่กล่าวมา เช่น สารสะกัดจากตับอ่อน ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยที่หมอตามโรงพยาบาลและคลินิกจ่ายให้กับผู้ป่วย

          แนวคิดใหม่คือ หากเรากินผักสด ผลไม้สด อาหารสด ในอาหารสดมีเอนไซม์อยู่แล้ว เอนไซม์นี้จะช่วยย่อยอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย เป็นการผ่อนภาระการย่อยของตับอ่อน อาการอาหารไม่ย่อยก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าใครกินแต่ของสุกทุกมื้อ ทุกวัน เอนไซม์จะหายไปกับความร้อนที่ใช้ปรุงอาหาร ตับอ่อนของคุณก็จะต้องผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารออกมามากกว่าจึงจะย่อยอาหารได้ ดังนั้นคนกินอาหารสุกตลอดก็จะเสี่ยงต่อภาวะอาหารไม่ย่อยมากกว่าคนที่กินผักสดและผลไม้สดเป็นประจำ

          ในมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทิร์นมีงานวิจัยเกี่ยวกับเอนไซม์อะไมเลสในกล้าข้าวบาร์เลย์สดว่าสามารถย่อยแป้งในกระเพาะอาหาร และในลำไส้เล็ก แสดงว่าหากเรากินผักสดและผลไม้สดที่มีเอนไซม์ในตัวมันเองอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งของอาหารในกระเพาะ เช่น แป้ง จะถูกเอนไซม์ในอาหารสดย่อยไปขั้นหนึ่งก่อนที่อาหารจะผ่านไปถึงลำไส้เล็กแล้วรับเอาเอนไซม์จากตับอ่อนที่หลั่งออกมาย่อยอาหารนั้น ๆ ต่อไป นับว่าการกินอาหารสดจะช่วยผ่อนเบาการทำงานของตับอ่อนไปได้มาก



2. โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันส่วนหนึ่งประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาวหลายชนิด เม็ดเลือดขาวเหล่านี้มีหน้าที่คอยทำลายสิ่งแปลกปลอม แบคทีเรีย ไวรัส และโปรตีนแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เม็ดเลือดขาวจะกลืนกินสิ่งเหล่านี้เข้าไป แล้วอาศัยเอนไซม์ในตัวของมัน มีอะไมเลส ไลเปส และโปรตีเอสเป็นต้น กำจัดสารพิษเหล่านี้ทิ้งอีกทอดหนึ่ง หากร่างกายขาดเอนไซม์ เม็ดเลือดขาวจะไม่สามารถกำจัดโปรตีนแปลกปลอมทิ้งก็จะเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ และหากเม็ดเลือดขาวกลืนกินแบคทีเรียและไวรัสเข้าไปโดยไม่มีเอนไซม์ไปกำจัดเชื้อโรคทิ้ง ภูมิต้านทานก็จะอ่อนแอลง คนคนนั้นก็จะป่วยง่าย



แนวคิดใหม่ก็คือ หากเรากินอาหารสดที่มีเอนไซม์ มันจะย่อยโปรตีนแปลกปลอมก่อนที่จะเข้าสู่ร่างกาย จึงสามารถลดอาการของภูมิแพ้ลง ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือภูมิต้านทานไม่แข็งแรงจะต้องกินผักสดและผลไม้สดปริมาณมากพอเป็นประจำทุกวัน
3. โรคอ้วน คนที่อ้วนมาก ๆ มักขาดเอนไซม์ไลเปส ถ้าไม่มีเอนไซม์ตัวนี้ไขมันก็จะพอกพูนตามผิวหนังทำให้อ้วนขึ้น แนวคิดใหม่ก็คือ หากเรากินผักสดและผลไม้สดเพิ่มมากขึ้น ด้านหนึ่งร่างกายจะไม่ขาดเอนไซม์ทำให้ไขมันไม่ไปพอกพูนตามผิวหนัง และอีกด้านหนึ่งผักสดและผลไม้สดมีแคลอรี่ต่ำ ทำให้ไม่อ้วน

 


จุดเริ่มต้นของเอนไซม์บำบัด


การใช้เอนไซม์บำบัด (Enzyme Therapy), การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency)เกิดจากหลายสาเหตุ

1. ถ้าทุกคนกินอาหารที่ปรุงแต่งอย่างปัจจุบันต้องมีปัญหาการขาดเอนไซม์ 
Dr. Dick Couey อาจารย์โภชนาการของBayloy University กล่าวว่า ในปัจจุบันพวกเรากินอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ เพราะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ (Processed) หรือ เอามาหุงต้ม (Cooked) ทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย  ดร.คูอี้ได้ย้ำว่า ตนเองจะไม่กินอาหารอีกถ้าไม่มีเอนไซม์เสริมมากินร่วมด้วย (I will never eat another meal without taking a plant enzyme supplement) 

ตามทฤษฎี ร่างกายต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เพื่อย่อยอาหาร ถ้ามีเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) มาเสริมด้วยกัน จะช่วยย่อยได้ครึ่งหนึ่ง แต่อาหารที่กินในยุคสมัยนี้ไม่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ เพราะถูกทำลายจากการหุงต้ม ดังนั้นร่างกายจึงต้องไปดึงเอาเมตาบอลิค เอนไซม์ มาเปลี่ยนโฉมให้เป็นเอนไซม์ย่อยอาหาร ถ้าทำบ่อยๆ จะมีระดับเอนไซม์ (เมตาบอลิค) บกพร่อง และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ


2. ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช  พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล  โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรง หรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น


3. อายุมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของร่างกายลดลง ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลไมเคิล รีส รัฐชิคาโก ได้ทำการวิจัยหาค่าของเอนไซม์อไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจากคน 2 กลุ่มอายุด้วยกัน คือ กลุ่มหนุ่มสาว (21-31 ปี) กับกลุ่มคนชรา (69-100 ปี) พบว่า กลุ่มหนุ่มสาวมีเอนไซม์อไมเลสซึ่งใช้ย่อยอาหารประเภทแป้ง มากเป็น 30 เท่าของกลุ่มผู้สูงอายุ นี่คือเหตุผลที่ว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว กินอาหารประเภทสำเร็จรูป และ อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยไม่มีปัญหาการย่อย ไม่มีทางเจ็บป่วย แต่เมื่อแก่ตัว เอนไซม์ลดลง จะย่อยอาหารต่างๆ ได้ลำบาก ทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และถ้าพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นอยู่อย่างนี้ (Poor Eating Habits) ท่านอาจแก่ตัวเร็วกว่าเพื่อนๆ ของท่านได้


4. มีสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การย่อยอาหาร (Digestion) บกพร่อง วิธีง่ายๆ ในการแก้ไขคือ ให้กินเอนไซม์ที่ผลิตมาจากพืชจะทำให้อาการกระเพาะและลำไส้แปรปรวนทุเลาลงได้  ถ้าศึกษาย้อนกลับไปหาสาเหตุก็คือ การย่อยอาหารไม่ดี การมีสารพิษ (Toxin) เนื่องจากมีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาการต่างๆ ดังกล่าว เชื่อว่าการกินเอนไซม์เสริมชนิดช่วยย่อยจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ถึงแม้ร่างกายผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอาหารได้เอง แต่สาเหตุที่ทำให้ผลิตเอนไซม์บกพร่อง ทั้งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ที่พบบ่อยคือ


1.ขาดการออกกำลังกาย และอยู่ในที่สิ่งแวดล้อมมีมลภาวะ (Poor Life Style)


2.มีความเครียดทั้งทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ (Stress Physical or Mental)


3.ดื่มสุรา อาหาร หรือน้ำไม่สะอาด (Alcohol, Polluted Food or Water)


4.กินอาหารปรุงสำเร็จซึ่งเอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย (Not just Fast Food, Eat even Cooked Food

 


 

About Enzyme The most powerful enzyme Did you know?

 

 

คุณสมบัติ เอนไซม์กับชีวิต รู้จักกับเอนไซม์
จุลินทรีย์ทำงานอย่างไร เอนไซม์บำบัด การเกิดโรคและการเจ็บป่วย
ประโยชน์
ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี
เปรียบเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ
 
ทำไมต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา?    
     
     
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

Create by Wellworld Intertrading Copyright @ 2014 All right reserved 

 

สนใจติดต่อ 088 886 2595, 081 144 2324

wellworldd@gmail.com 

 


 

 
Online:  1
Visits:  11,416
Today:  18
PageView/Month:  28
Last Update:  26/2/2557
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  11,416
Today:  18
PageView/Month:  28

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com