wellworldd

 

 

 

 

 

Life is an enzyme

 

 

           เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในทุกๆ เซลล์ของร่างกาย ซึ่งมีมากกว่า 60 ล้านล้านเซลล์ 
การหายใจ การย่อยอาหาร การเจริญเติบโต การคิดและการนอนล้วนต้องใช้เอนไซม์ทั้งสิ้น  ถ้าขาดเอนไซม์ ชีวิตย่อมอยู่ไม่ได้ เช่นการทำปฏิกิริยาเคมีสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรคเข้ามาจู่โจมร่างกาย ถ้าทำโดยไม่มีเอนไซม์ ต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน เชื้อโรคอาจจะฆ่าเราเสียก่อน ดังนั้นในวงการแพทย์ได้ให้ความสนใจประโยชน์ของเอนไซม์ในการป้องกันและทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค และการห้ามการทำงานของเอนไซม์บางอย่างกลับมีประโยชน์ในการไปรักษาอาการของโรคได้ และในอนาคตข้างหน้าภายในไม่เกิน 30 ปี เอนไซม์จะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในวงการแพทย์ และยอมรับว่าเอนไซม์คือ พลังงานสำคัญต่อชีวิต (Life Force)

 

เอนไซม์ควรจะถือว่าสำคัญกว่าแก๊สออกซิเจนที่ใช้หายใจ 

            ชีวิตที่ปราศจากเอนไซม์จะไม่สามารถอยู่ได้ แต่เมื่อเราพูดว่าอากาศ หรือแก๊ส ออกซิเจนสำหรับหายใจสำคัญที่สุดต่อมนุษย์ แท้ที่จริงเป็นความสำคัญในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะความจริงแก๊สออกซิเจนที่เราต้องใช้หายใจเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในพืชใบเขียว ซึ่งมีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง โดยเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ให้เป็นแก๊สออกซิเจน (O2) ต้นไม้และพืชทั้งหลายสามารถผลิตเอนไซม์ที่จะใช้ในการทำปฏิกิริยาดังกล่าวได้โดยตัวเอง และใช้เอนไซม์นี้มาย่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อีกต่อหนึ่ง ให้มาเป็นแก๊สออกซิเจนโดยมีสงแดดเป็นตัวช่วย

 

ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช

 

            พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรง หรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น

 

ระบบความปลอดภัยของร่างกายในการใช้เอนไซม์ คือการสร้าง “ตัวห้าม” หรือตัวยับยั้ง (Enzyme Inhibitor) เอาไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์นี้สำคัญ เพราะ มิฉะนั้น เอนไซม์ที่ร่างกายผลิตออกมา อาจจะย่อยอวัยวะที่เป็นผู้ผลิตมันออกมาก็ได้ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์และก่อให้เกิดอันตราย

            นอกจากร่างกายจะผลิต “ตัวห้าม” เอาไว้ บางครั้งร่างกายจะใช้วิธีให้เอนไซม์ กลุ่มที่ทำงานระยะที่หนึ่งเมื่อทำงานเสร็จแล้ว จึงจะกระตุ้นให้เอนไซม์กลุ่มที่สองทำงานต่อไป และเมื่อเอนไซม์กลุ่มที่ 2 ทำงานเสร็จแล้วก็จะกระตุ้นเอนไซม์กลุ่มที่ 3 ทำงานต่อ จนกระทั่งได้รับ ผลิตผลสุดท้าย (Product)

 

ตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ถูกนำมาผลิตเป็นยาจำนวนมาก 

            ประโยชน์ของ “ตัวห้ามหารทำงานของเอนไซม์” จึงทำให้เรานำความรู้นี้ใช้ทำยาแผนปัจจุบัน ตั้งแต่ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาเพนนิซิลินแก้อักเสบ จนกระทั่งยาไวอากร้า (Viagra) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางเพศของผู้ชาย ฯลฯ โดยเราใช้ตัวห้าม (Enzyme Inhibition) มาปิดกั้นการทำงานของเอนไซม์ หรือห้ามไม่ให้เอนไซม์บางชนิดทำงาน เพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการของโรคต่างๆ ทำให้ไม่รู้สึกปวด ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่แบ่งตัว หรือทำให้กล้ามเนื่อหลอดเลือดของอวัยวะเพศชายคลายตัวไม่บีบไล่เลือดออกไป (ทำให้เลือดมาคั่งอยู่) เป็นผลให้อวัยวะเพศชายบวมและแข็งตัวอยู่ได้ประมาณ 30 นาที สามารถทำให้ร่วมเพศได้สำเร็จ เป็นต้น 

 

 

 

 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเอนไซม์คือ 

            1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถสร้างเอนไซม์ขึ้นมาใช้เอง ด้วยความสามารถในการผลิตที่แตกต่างกัน

            2. เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพเพื่อนำไปใช้ ถ้าย่อยได้ไม่ดีถึงกินอาหารแสนดีก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น

            3. เอนไซม์ควบคุมและเร่งปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ถ้าไม่มีเอนไซม์ปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ถ้าไม่มีเอนไซม์ปฏิกิริยาเคมี จะเกิดช้าจนชีวิตไม่สามารถรออยู่ได้ เปรียบเสมือน กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

            4. เอนไซม์แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะตัว และจะทำปฏิกิริยาเคมีจำเพาะกับสารตั้งต้น (Substrate) ที่ถูกกำหนดเท่านั้น เอนไซม์ชนิดย่อยแป้งจะไม่ย่อยโปรตีน เอนไซม์ชนิดย่อยไขมันจะไม่ย่อยแป้ง เป็นต้น

             5. เอนไซม์ถูกทำลายโดยง่ายที่ความร้อนสูงเกิน 118 F (118 องศาฟาเรนไฮด์) หรือกล่าวอีกนัยว่า เอนไซม์เปราะบางมาก

            6. การแช่แข็ง (Freezing) จะไม่ทำลายความสามารถของเอนไซม์ส่วนใหญ่

            7. เอนไซม์บางชนิด จะส่งเสริมการทำงานของหัวใจ ฯลฯ เอนไซม์แต่ละอย่างมีหน้าที่แตกต่างกันไป

            8. การขาดเอนไซม์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไม่รักษาสุขภาพของตนเอง แต่บางกรณีอาจเกิดจากปัญหากรรมพันธุ์ (โรคที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่)

            9. เอนไซม์ที่มีระดับต่ำ (Low Enzyme Level) ในร่างกาย จะสัมพันธ์กับโรคของความเสื่อมต่างๆ (คือ ถ้าเอนไซม์ต่ำมาก โรคแห่งความเสื่อมก็เกิดขึ้นมากตาม)


ธรรมชาติไม่ได้ให้เอนไซม์มากับร่างกายจนฟุ่มเฟือย 

            นักชีวเคมีเชื่อว่า เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ดังนั้นท่านต้องช่วยตัวเองที่จะประหยัดเอนไซม์ให้มีใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดี เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือ เมตาบอลิคเอนไซม์ (Metabolic Enzyme) หรือเอนไซม์สำหรับเผาผลาญ ซึ่งสำคัญในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ของร่างกาย ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรม แต่กฎของธรรมชาติให้ไว้ว่า ถ้าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายต้องดึงเมตาบอลิคเอนไซม์ ซึ่งสะสมไว้เพื่อใช้ในเซลล์ออกมาจากเซลล์ต่างๆ เพื่อมาทำงานที่ต่ำชั้นกว่าคือ ย่อยอาหาร (Digestion) ทำให้ “เมตาบอลิคเอนไซม์” หมดเปลือง พลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่าย


เอนไซม์เปรียบเหมือนเม็ดเงินที่ฝากธนาคาร ถ้าใช้อย่างเดียวหรอใช้อย่างฟุ่มเฟือย เงินในธนาคารก็หมดเร็ว 

            ดร.เอดเวิด โอเวล (Dr. Edword Howell) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกคนแรกเรื่องเอนไซม์ ได้ให้ข้อสังเกตในหนังสือชื่อ “แนวคิดเรื่องเอนไซม์จากอาหาร” (The Food Enzyme Concept)ไว้ว่า คนทั่วไปเบิกเอนไซม์จาก “ธนาคารเอนไซม์” (Enzyme Bank) ของตนมาใช้ และไม่ค่อยหากลับมาฝากคืนธนาคารอีก ไม่เหมือนกับเบิกเงินออกจากธนาคาร เรามักจะพยายามหามาฝากคืน จึงทำให้เงินไม่หมดไป จะเป็นการกระทำที่ฉลาด ถ้าเราจะพยายามกักตุนเอนไซม์ที่เราผลิตเองในร่างกายเอาไว้ และหาเอนไซม์จากภายนอกมาใช้แทน การหมดเปลืองจากธนาคารเอนไซม์ก็จะเกิดช้าลง ผลการศึกษาต่างก็สรุปว่า 

 

 

การอดอาหารเป็นวิธีการประหยัดเอนไซม์ที่น่าสนใจศึกษา 

            นักวิทยาศาสตร์บางท่านยังเชื่อว่า ถ้าเราลดจำนวนอาหารลง เราก็จะไม่สิ้นเปลืองเอนไซม์ (ที่จะมาใช้ย่อยอาหาร) ซึ่งก็คือเราจะตายช้าลง เพราะเมตาบอลิกเอนไซม์จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ต้องไปช่วยย่อยอาหารสามารถนำไปซ่อมแซมร่างกายให้แข็งแรง ตัวอย่างง่ายๆคือ ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตสัตว์เลี้ยงเช่น แมว เวลาป่วยมันจะหยุดกินอาหาร และจะพยายามออกไปกินต้นหญ้าบางอย่าง สัตว์มีสัญชาติญาณที่จะประหยัดเอนไซม์โดยการหยุดกินอาหารและยังเอาเอนไซม์จากพืชมาช่วยอีกด้วย ไม่ใช่แมวจะฉลาดกว่ามนุษย์ แต่เป็นกฎของการอยู่รอด (Law of Survival) ซึ่งธรรมชาติเป็นผู้กำหนด ทำให้สัตว์ต้องกระทำอย่างนั้นด้วยสัญชาติญาณเพื่อดำรงพันธุ์ไว้

            ในศาสนาต่างๆ ศาสดาผู้ให้กำเนิดศาสนามาตั้งหลายพันปี เป็นผู้ที่มีความฉลาดเป็นเลิศ เช่น ศาสนาพุทธให้พระสงฆ์รับอาหารเพียงมื้อเช้าและมื้อเพลเท่านั้น งดอาหารตอนเย็น การถือศีลอดของศาสนาอิสลามเป็นความยิ่งใหญ่ของการปรับปรุงระดับเอนไซม์ในร่างกายที่น่าศึกษาทีเดียว เพราะเมื่อไม่ต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร ทำให้เหลือไปสร้างเมตาบอลิคเอนไซม์ไว้ใช้ได้มากขึ้น ผู้เขียนไดศึกษาคำสอนของศาสนาอิสลามพบว่า มีประโยชน์อย่างสูงต่อสุขภาพอนามัยอยู่หลายบท และบัญญัติเอาไว้เป็นพันๆปีมาแล้วด้วยข ก่อนที่มนุษย์จะรู้เรื่องเกี่ยวกับการสาธารณสุขเสียอีก

 

 


 

About Enzyme The most powerful enzyme Did you know?

 

 

คุณสมบัติ เอนไซม์กับชีวิต รู้จักกับเอนไซม์
จุลินทรีย์ทำงานอย่างไร เอนไซม์บำบัด การเกิดโรคและการเจ็บป่วย
ประโยชน์
ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี
เปรียบเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ
 
ทำไมต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา?    
     
     
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

Create by Wellworld Intertrading Copyright @ 2014 All right reserved 

 

สนใจติดต่อ 088 886 2595, 081 144 2324

wellworldd@gmail.com 

 


 

 
Online:  1
Visits:  11,408
Today:  10
PageView/Month:  20
Last Update:  26/2/2557
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  11,408
Today:  10
PageView/Month:  20

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com