wellworldd

 

 

 

 

 

Compare with others

 

 

เอนไซม์ไมโครบอนด์


VS


กลุ่มจุลลินทรีย์ชนิดอื่นๆ


1. ประกอบด้วยจุลินทรีย์บริสุทธิ์ 5 ชนิด อยู่ในรูปเซลล์แห้งที่มีชีวิต    


 

1. จุลินทรีย์ชนิดเดียว หรือไม่แจ้งชนิด อยู่ในสภาพที่มีชีวิต, สปอร์


2. ระบุความเข้มข้นได้จาก OMIC (1 กรัม มี 3x10^8 cfu/g)
 

2. ไม่ระบุความเข้มข้น มีจุลินทรีย์น้อยกว่าหลายเท่าตัว


3. ไม่ผ่าเหล่า


 

 

3. มีโอกาสผ่าเหล่าได้ จากการต่อเชื้อ(หมัก) เรื่อยๆ


4. การเก็บรักษาสะดวก(ชอบแดด) เก็บรักษาได้นาน 2 ปี    

4.ต้องเก็บรักษาในที่มืดห้ามโดนแสงแดดอายุสั้น  

 

5. ประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ  

 

 

5. ประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีการต่อเชื้อครั้งต่อไป    


6. มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม       6. ไม่รับรองความปลอดภัย

7. ราคาถูกกว่าเมื่อคิดต่อหน่วยการใช้งาน    



 

7. ราคาต่อหน่วยอาจจะถูกกว่า แต่คิดต่อการใช้งานแพงกว่า    


 

 

 

รู้หรือไม่ว่า...อีเอ็มบอลไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้

คณะวิทยาศาตร์จุฬาฯฟันธงอีเอ็มบอลไม่ช่วยทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้นมีคุณสมบัติแค่แก้ขัดบรรเทากลิ่นเหม็น 

ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบสรุปการเติมอีเอ็ม หรือเติมผลิตภัณฑ์จากอีเอ็ม ลงไปในน้ำเสียจากแหล่งน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม การเติมอีเอ็มลงไปในน้ำ กลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนภายในน้ำลดลง 

ผลการศึกษาที่ได้ออกมาในครั้งนี้จึงช่วยยืนยันข้อสังเกต และข้อเสนอแนะถ้าต้องการนำอีเอ็มมาใช้กับน้ำเสียในสถานการณ์น้ำท่วมควรใช้เฉพาะน้ำอีเอ็มไม่ใช่ลูกบอลอีเอ็ม โดยให้ใช้เฉพาะในบริเวณน้ำท่วมขังเป็นพื้นที่แคบ และให้ตระหนักว่าเป็นการใช้แก้ขัด เพียงเพื่อบรรเทากลิ่นเหม็น และช่วยให้น้ำใสขึ้นชั่วคราวเท่านั้น 

"การใช้อีเอ็มไม่ได้ทำให้น้ำเสียมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นน้ำดีได้ และวิธีการบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุดอย่างยั่งยืน คือ ช่วยกันเก็บขยะของเสียออกจากแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะเพิ่ม เร่งระบายน้ำให้ไหล ไม่ขังนิ่ง และหาทางเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา" ดร.สุพจน์กล่าว 


และมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการวิจัยดังนี้
 
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลทดสอบประสิทธิภาพ “อีเอ็ม” ในการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำท่วมขัง พบคุณภาพน้ำไม่ดีขึ้น ซ้ำร้ายปริมาณออกซิเจนกลับลดลง อีกทั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่ผลจากจุลินทรีย์แต่เป็นสารที่เกิดจากการหมักเชื้อ แนะใช้ “ปูนขาว” ได้ผลดีและถูกกว่า หรือเก็บขยะและเติมอากาศจะให้ผลดีกว่า 

จากข้อถกเถียงว่าการนำเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM: Effective Microorganism) มาใช้บำบัดน้ำเสียนั้นได้ผลจริงหรือไม่ ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบว่าอีเอ็มสามารถบำบัดน้ำเสียจากน้ำท่วมที่ผ่านมาได้หรือไม่ โดยมุ่งตอบคำถามว่าอีเอ็มนั้นช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำเสียได้หรือไม่ โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียที่ท่วมขังบริเวณ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 6-16 ธ.ค.54 มาใส่โหลทดสอบ 

น้ำเสียจากน้ำท่วมขังดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นชุดทดลอง 3 ชุด คือ ชุดควบคุม ที่ไม่ได้เติมอีเอ็มลงน้ำเสีย ชุดอีเอ็ม ที่เติมอีเอ็มซึ่งเลี้ยงด้วยกากน้ำตาลนาน 2 วันลงไปในน้ำเสีย และชุดอีเอ็มกรอง ซึ่งเติมน้ำอีเอ็มที่ขยายด้วยกากน้ำตาลแต่กรองตัวเชื้อทิ้งไป เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์หรือสารเคมีต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ กรดแลคคิก เป็นต้น ที่เชื้อสร้างขึ้นนั้นเป็นตัวการที่ทำให้น้ำเสียใสขึ้นหรือไม่ 

จากนั้นตรวจวิเคราะห์ค่าดัชนีคุณภาพน้ำ 5 ค่า ได้แก่ 1.ค่าบีโอดี (BOD) ที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ย่อยสารอินทรีย์ในน้ำ หากมีค่าสูงแสดงว่าน้ำสกปรกมาก 2.ค่าซีโอดี (COD) บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในปฏิกิริยาเคมีเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งค่าสูงน้ำยิ่งสกปรก 3.ค่าดีโอ (DO) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงน้ำยิ่งมีคุณภาพดี 4.ค่าไนโตรเจนอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งสูงยิ่งไม่ดี และค่าทีเอสเอส (TSS) หรือปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงยิ่งไม่ดี 

น้ำเสียที่นำมาทดสอบประสิทธิภาพอีเอ็มนี้มีค่าบีโอดีประมาณ 13.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีความเน่าเสียต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินที่มีค่าบีโอดีได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อเริ่มทดลองพบว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าบีโอดีสูงขึ้นใกล้เคียงน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมคือประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อผ่านไป 2 วันพบว่าชุดควบคุมยังคงมีค่าบีโอดีต่ำกว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม และเมื่อทิ้งไว้ 7 วัน พบว่าชุดควบคุมมีค่าซีโอดีต่ำกว่าของชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม ส่วนค่าดีโอนั้นพบว่าเมื่อทิ้งไว้หลังการทดลองชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าต่ำกว่าชุดควบคุม ส่วนค่าไนโตรเจนอินทรีย์และค่าทีเอสเอสนั้นไม่พบความแตกต่างระหว่างชุดทดลอง 

ทางทีมวิจัยจึงสรุปว่าการเติมอีเอ็มหรือผลิตภัณฑ์จากอีเอ็มลงในน้ำเสียจากน้ำท่วมนั้นไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำเสียในชุดควบคุม ในทางตรงกันข้ามการเติมอีเอ็มลงในน้ำกลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง และปฏิกิริยาใดๆ ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นผลจากผลิตภัณฑ์ของอีเอ็ม ที่ได้ระหว่างการเลี้ยงขยายเชื้อด้วยกากน้ำตาล จึงเป็นผลให้เมื่อนำน้ำอีเอ็มที่ขยายแล้วไปใช้ ต้องเติมน้ำอีเอ็มขยายลงไปเรื่อยๆ 

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า ที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับอีเอ็มน้อยมาก และแทบไมมีงานวิจัยที่ปราศจากการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอีเอ็ม งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นงานวิจัยแรกๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอีเอ็มอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเขากังขาว่าภายในอีเอ็มหรือลูกอีเอ็มบอลนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใดอยู่บ้างแน่ๆ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนอีเอ็มมักอ้างว่ามีแบคทีเรียสีม่วงซึ่งสังเคราะห์แสงได้ แต่จริงๆ แล้วเป็นการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ผลิตออกซิเจนหรือต้นไม้หรือสาหร่ายแต่อย่างใด 

ทางด้าน รศ.ดร.สุเทพ ธรียวัน หัวหน้าทีมวิจัย และหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า อีเอ็มนี้ช่วยกำจัดกลิ่นได้อย่างไม่ต้องสงสัยแต่ไม่ได้หมายความว่าความสกปรกของน้ำจะลดลงด้วย ทั้งนี้ แบคทีเรียสีม่วงมีคุณสมบัติเปลี่ยนสารเคมีก๊าซไข่เน่าไปเป็นสารรูปอื่นที่ไม่มีกลิ่น และทีมวิจัยไม่ได้ใช้ก้อนอีเอ็มบอลทดสอบเพราะทราบแน่ชัดว่ามีสารอินทรีย์ที่สร้างปัญหาให้เกิดน้ำเน่าอย่างแน่นอน และเลือกใช้น้ำอีเอ็มยอดนิยมที่มีขายตามท้องตลาด และการเติบกากน้ำตาลย่อมทำให้ความสกปรกเพิ่มขึ้น 

รศ.ดร.สุเทพ ยังกล่าวด้วยว่า จริงๆ แล้วชาวบ้านไม่ได้สนใจเท่าไรต่อค่าน้ำเสียทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นตัวเลข แต่ปัญหาที่ชาวบ้านสนใจคือน้ำใสไม่มีกลิ่น ซึ่งมีทางเลือกอื่นที่ได้ผลและถูกกว่า นั่นคือการใช้ปูนขาว โดย ผศ.ดร.เจษฎาได้ทดลองใช้ดูในบริเวณน้ำท่วมที่ดอนเมือง และพบว่าได้ผลในการช่วยลดกลิ่นได้ดี พร้อมกันนี้ทีมวิจัยได้แนะว่าทางที่ดีควรช่วยกันเก็บขยะ ลดการทิ้งสารอินทรีย์ลงในน้ำและช่วยกันเติมอากาศก็จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้ 

ส่วน ผศ.ดร.เจษฎาเสริมอีกว่า อีเอ็มนี้ใช้ได้ผลดีในดารทำปุ๋ยหมักทางการเกษตร ซึ่งควรจะจำกัดวงอยู่ในกรอบนั้นต่อไป สิ่งที่เขากลัวคือกลัวว่าศรัทธาต่ออีเอ็มจะไปไกลเกินกว่านั้นเหมือน “น้ำป้าเชง” หรืออาจเลยเถิดไปถึงขั้นอ้างว่ารักษาสิว เสริมความแข็งให้แก่คอนกรีต หรือข้ออ้างอื่นๆ ทางที่ดีควรช่วยกันลดทิ้งขยะลงน้ำเป็นดีที่สุด 

สำหรับทีมวิจัยประกอบด้วย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์, รศ.ดร.สุเทพ ธนียวัน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา, รศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา, รศ.ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ หัวหน้าวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, ศ.ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ ภาควิชาชีวเคมี, ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา, ดร.อนุสรณ์ ปานสุข ภาควิชาชีววิทยา และ ดร.สราวุธ ศณีทองอุทัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 

TAG : จุลินทรีย์, อีเอ็ม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

Credit : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 


 

 

     

 

 

 

 

 

About Enzyme The most powerful enzyme Did you know?

 

 

คุณสมบัติ เอนไซม์กับชีวิต รู้จักกับเอนไซม์
จุลินทรีย์ทำงานอย่างไร เอนไซม์บำบัด การเกิดโรคและการเจ็บป่วย
ประโยชน์
ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี
เปรียบเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ
 
ทำไมต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา?    
     
     
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

Create by Wellworld Intertrading Copyright @ 2014 All right reserved 

 

สนใจติดต่อ 088 886 2595, 081 144 2324

wellworldd@gmail.com 

 


 

 
Online:  1
Visits:  11,411
Today:  13
PageView/Month:  23
Last Update:  26/2/2557
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  11,411
Today:  13
PageView/Month:  23

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com